วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กิจกรรมรณรงค์ลดบุหรี่ "นาพู่ร่วมใจห่างไกลโรค Stop Smoke Disease"
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 น. นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ได้จัด กิจกรรมรณรงค์ลดบุหรี่ "นาพู่ร่วมใจห่างไกลโรค Stop Smoke Disease" ณ หมู่บ้านนาพู่ ม.12 ต.นาพู่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี โดยมี นายเสกสรร ส่องจันทร์ สาธารณสุขอำเภอเพ็ญ นายอำนวย อินทรธิราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย ผู้นำชุมชน อสม. นักเรียนผู้สูงอายุ และเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์ลดบุหรี่
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ไวรัส RSV ภัยร้ายที่มากกว่าโรคหวัด
ไวรัส RSV คืออะไร
Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร
ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร
RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ- ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
- ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ใน
- บางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม
ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร
หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้รักษา ไวรัส RSV อย่างไร
- ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด
- อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม
- รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้
- นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย
วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
- การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้
- เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว
- ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ
ถ้ามองเผินๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็กๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้องๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ
ที่มา :http://www.rakluke.com
: http://www.lanna-hospital.com
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ญาติควรดูแลอย่างไร?
ในวันหนึ่งหากคนที่รักในครอบครัวของเราป่วยเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย คนในครอบครัวจะดูแลอย่างไรให้พวกเขาได้รับความสุขในขณะที่มีชีวิตมากที่สุด
#ความรัก ความเอาใจใส ของคนในครอบครัวคือกำลังใจและยาที่ดีที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.kapook.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)