นวัตกรรมไข่ไอโอดีนและผักไอโอดีน

นวัตกรรมไข่ไอโอดีนและผักไอโอดีน
  ไอโอดีน


           มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองและเสริมสร้างสติปัญญาให้กับเด็กทุกวัย  โดยเฉพาะ  ตั้งแต่  3  สัปดาห์ถึง 3 ปี  ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาสองมากถึงร้อยละ  80  ร่างกายจะใช้ไอโอดีนในการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์สมอง  รวมทั้งการสร้างใยประสาทเชื่อมต่อกั

 ผลกระทบของการขาดสารไอโอดีน


เนื่องจากไอโอดีนมีบทบาทสำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา โดยทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดสารไอโอดีนจะมี IQ ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เตี้ย      แคระแกรน เป็นใบ้หูหนวก เชื่องช้า  พัฒนาการช้า  ปัญญาอ่อน ผิดปกติของระบบ   ประสาทและการเคลื่อนไหว      
ความต้องการไอโอดีนของร่างกาย
  เด็กแรกเกิด-6 ปี   ต้องการวันละ 90 ไมโครกรัม
  เด็กอายุ  7-12 ปี   ต้องการวันละ 120 ไมโครกรัม
  เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปต้องการเฉลี่ยวันละ 150 ไมโครกรัม
  หญิงตั้งครรภ์    ต้องการวันละ  250 ไมโครกรัม
  หญิงให้นมบุตร ต้องการวันละ  250 ไมโครกรัม
    ***ตำบลนาพู่ผลิต  ไข่ 1 ฟอง มีไอโอดีนประมาณ 170  ไมโครกรัม ****
แหล่ง ไอโอดีนในธรรมชาติ
       พบมากในดินและน้ำแถวราบลุ่มปากน้ำชายทะเล    ทำให้พืชผักและสัตว์ทะเลมีไอโอดีนมากไปด้วย เช่น สาหร่ายทะเล  กุ้ง หอย  ปลาหมึก ปลาทู    ปลากระป๋อง เป็นต้น  แต่ราคาค่อนข้างแพงและ การจัดหามาประกอบอาหารอาจไม่สะดวก   การเสริมไอโอดีนในห่วงโซ่อาหาร เช่น ไข่ไก่  พืชผัก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน      
  การเลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีน
1.  ดูแลไก่เป็นอย่างดีตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- การเตรียมเล้าไก่                 -การให้ความอบอุ่น
- การให้วัคซีนทุก 3 เดือน        -การให้อาหารไก่
- การเก็บขี้ไก่ เป็นต้น
2.  การเลี้ยงไก่  จับกลุ่มกันกลุ่มละ 10-20 หลังคาเรือน (หลังคาเรือนละ 5 ตัว) ตัวแทนกลุ่มผสมหัวอาหารครั้งละ 30 กิโลกรัม แบ่งให้สมาชิกกลุ่มหลังคาเรือนละ 2-3 กิโลกรัม ใช้ให้หมดภายใน 3-5 วัน  แล้วจึงผสมหัวอาหารใหม่หรือถ้าเลี้ยงคนเดียว  ไก่ 50 ตัวขึ้นไป จะดูแลเรื่องคุณภาพไอโอดีนได้ดีกว่า
3.  การผสมหัวอาหารไก่    นำอาหารไก่ 30 กิโลกรัมผสมกับพรีมิกซ์ (หัวอาหารไอโอดีน)  หนึ่งถุง  คลุกเคล้าในที่ร่ม/แห้ง  นานประมาณ 20 นาที  แล้วเก็บใส่ถุงหรือถังไว้แบ่งกันภายในกลุ่ม  ผสมแต่ละครั้งใช้ให้หมดภายใน 3-5 วัน
4.  การเก็บหัวอาหารที่ผสมไอโอดีนแล้ว  เก็บใส่ถุงหรือถังให้มิดชิด  ไม่ให้ถูกแสงแดดและความชื้น


5.  ไก่ที่กินหัวอาหารที่ผสมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง 30 วันขึ้นไปจึงจะให้ไข่ที่มีไอโอดีนในไข่แดง ซึ่งให้ประโยชน์ในการพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย


         การปลูกผักไอโอดีน
1.  ควรปลูกผักแต่ละแปลงในเวลาไล่เลี่ยกัน ( ไม่ควรปลูกพร้อมกันทีเดียว ) เพื่อให้มีผักหมุนเวียนได้กิน ได้ขายตลอดปี
2. ผักแต่ละชนิด  ก่อนเก็บขาย หรือ เก็บกิน 7 วัน  ให้พ่นสารไอโอดีน  หลังจากนั้นให้รดน้ำธรรมดา  จนกระทั่งวันที่จะเก็บขาย หรือ เก็บกิน
3. การพ่นสารไอโอดีน  ควรพ่นในตอนพลบค่ำ  หรือ ตอนเย็น ๆ ( แดดไม่จัด  - ไม่มีแดด )
4. การผสมสารไอโอดีน  1 ขวด  ต่อ น้ำ  20 ลิตร ( ถังน้ำขาว)   ผสมแล้วใช้ให้หมดครั้งเดียว
5. ผักที่ดูดซับสารไอโอดีนเข้าทางปากใบได้ดี  คือ ผักที่กินใบทุกชนิด  ยกเว้น  ผักที่มีกลิ่นฉุนมาก ๆ  เช่น กระเทียม  เป็นต้น
6. หากน้ำที่ผสมสารไอโอดีนแล้ว  เหลือ  สามารถนำไปรดหรือพ่นพืชผักที่รั้วบ้านได้
7.  สารไอโอดีนเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสง  ความร้อน  ความชื้น  และมีวันหมดอายุที่ข้างขวด
8.  ผักที่พ่น / รดด้วยสารไอโอดีน  สามารถนำไปผัด  ต้ม  นึ่ง ได้  โดยสารไอโอดีนยังคงอยู่ในผัก
สารไอโอดีนรดผักและผสมอาหารไก่ สอบถามได้ที่ รพ.สตนาพู่ 081-5447077   หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 อุดรธานี