วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำหนดการรับวัคซีน ประจำเดือน สิงหาคม 2555

แจ้งกำนดการการรับวัคซีนประจำเดือน สิงหาคม 2555
วันที่ 15 สิงหาคม 2555 เวลา 08.00 - 12.00 น.
ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่

งดเหล้าเข้าพรรษามหากุศล

ปี 2555 นับเป็นปีมหามงคลยิ่ง เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโอกาสฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

งดเหล้าเข้าพรรษามหากุศล

การงดเหล้าเข้าพรรษาจึงนับเป็นอีกโอกาสอันดีที่ชาวไทยพุทธจะถือโอกาสปีดี ปีมหามงคลนี้อยู่ในศีลในธรรม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ได้ริเริ่มจัดโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 ต่อเนื่องมาในปีนี้เป็นปีที่ 10 จึงได้จัดโครงการ 2,600องค์กร 2,600ครอบครัวและ 2,600คนต้นแบบ งดเหล้าเข้าพรรษามหากุศล

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า การรณรงค์งดเหล้าดำเนินงานมาถึง 10 ปีแล้ว ในช่วงปีแรกที่เริ่มดำเนินงานนับว่าเกิดกระแสตื่นตัวอย่างมาก จากที่ในช่วงนั้นคนไทยลืมงดเหล้าเข้าพรรษาไป ทั้งๆ ที่อดีตนับเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ ซึ่งจนถึงวันนี้ น่าดีใจมาก ที่คนไทย 50%เข้าร่วมงดเหล้า โดย 80%เห็นด้วยกับงานนี้ โดยจากการสำรวจผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาช่วง 9 ปีที่ผ่านมา โดยเอแบคโพล พบว่า  มีประชาชน ร้อยละ 81.1 เห็นด้วยกับโครงการนี้ และร้อยละ 50.6 เกิดความตระหนักในพิษภัย และพยายามลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยในปี 2546 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มรณรงค์ มีผู้ร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา ร้อยละ 40.6 ต่อมาในปี 2554 ได้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 53.3  จากจำนวนผู้ดื่มทั้งหมด 17 ล้านคน โดยเป็นผู้ร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน ประมาณ ร้อยละ 30 ของผู้ที่ดื่มทั้งหมด ประหยัดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,857.3 บาทต่อคน รวมทุกคนที่งดดื่ม สามารถประหยัดเงินได้  31,574 ล้านบาท การงดเหล้าทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น พ่อ-แม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน ช่วยลดปัญหาทางสังคม

หากเอ่ยชื่อนายนรินทร์ แป้นประเสริฐ อาจไม่คุ้นหูนัก แต่สำหรับชาวชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลุงนรินทร์ด้วยวัย 50 ปี กับตำแหน่งประธานชุมชนวัดโพธิ์เรียง กทม.เป็นบุคคลที่น่ายกย่องและเป็นต้นแบบอย่างมาก โดยเฉพาะการริเริ่มงดเหล้า

นายนรินทร์ แป้นประเสริฐ ลุงนรินทร์เล่าว่า ดื่มเหล้ามาตั้งแต่อายุ 18 ปี จนเมื่อปี 2540 ตัดสินใจทำบัตรเครดิตไว้สำหรับจ่ายค่าเหล้าเพียงอย่างเดียว ตกเดือนละเป็นหมื่นบาท เพราะช่วงนั้นติดเพื่อน ดื่มเหล้าเข้าสังคมเป็นประจำ ต่อมาในชุมชนมีปัญหาเรื่องยาเสพติด ก็ใช้การรณรงค์ให้คนหันมาดื่มเหล้าดีกว่ายาเสพติด เพราะคิดว่าเหล้าเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับรุนแรงมากกว่าเดิม ยาเสพติดก็ไม่หมดไป เพราะยิ่งคนดื่ม ก็ยิ่งสร้างปัญหาสังคมมากขึ้น ทั้งทะเลาะวิวาท การลักขโมย จนกระทั่งปี 2550 ที่ต้องทำงานร่วมกับชุมชน จึงคิดหาทางแก้ปัญหาโดยใช้หลักคิดว่าหากจะให้ยาเสพติดหมดไป ต้องเริ่มที่การเลิกเหล้าให้ได้ก่อน  ดังนั้นจึงทำเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนปฏิบัติตาม

“ผมก็เริ่มจากตัวเราเอง จัดงานบวชลูกชายผมจัดเป็นงานบวชปลอดเหล้า พิมพ์ในการ์ดเลยว่าไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใหม่ๆ ก็กลัวว่าจะไม่มีคนมา เพราะในงานไม่มีเหล้า ปรากฏว่าคนมาเต็มงาน ผมจัดโต๊ะจีน 50 โต๊ะ แล้วลองคิดดูว่าหากวันนั้นผมมีเหล้าในงาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 600 บาทต่อโต๊ะ ซึ่งเห็นชัดเจนเลยว่าผมประหยัดไปได้เยอะ ซึ่งก็มีแต่คนมาชื่นชม คนในชุมชนก็ทำตามเรา เห็นเราเป็นแบบอย่าง ตอนหลังปี 52 ผมเริ่มคุยกับร้านค้าในชุมชน 25 ร้านให้ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุดท้ายทุกร้านยินยอมปฏิบัติตาม แม้แรกๆ จะได้คำตอบว่าหากฉันทำแล้วร้านอื่นไม่ทำอะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งผมต้องใช้เวลาเป็นปีในการสร้างความเข้าใจจนทุกร้านยอมปฏิบัติตาม ถึงวันนี้ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นก็ไม่เกิด ครอบครัวที่มีพ่อแม่ดื่มเหล้าก็ลดลง ลูกก็ได้ไปโรงเรียนตามปกติ เยาวชนในชุมชนก็มาพูดคุยกันมากขึ้น”ลุงนรินทร์กล่าว

ลุงนรินทร์ ยังกล่าวฝากไปถึงผู้นำชุมชนคนอื่นว่า “ผมให้กำลังใจครับว่าเรื่องแบบนี้ต้องเริ่มที่ผู้นำก่อน ถ้าเราควบคุมในชุมชนได้ ชัดเจนว่าปัญหาในชุมชนจะลดลงเลย ชุมชนเข้มแข็งไม่ใช่ว่าคนอื่นมาช่วย แต่หากเราให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมนั้นจะทำให้เข้มแข็งมากขึ้นครับ”



เรื่องโดย: สุนันทา สุขสุมิตร ที่มา http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/29689 

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตารางแพทย์ออกให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังในรพ.สต.

เดือน สิงหาคม 2555
 
ลำดับที่
วันที่
รพ.สต.ที่ออกตรวจ
1.
9   สิงหาคม   55
รพ.สต.บ้านหลวง
2.
14   สิงหาคม   55
รพ.สต.บ้านด่าน
3.
16   สิงหาคม   55
รพ.สต.นิคม
4.
21   สิงหาคม   55
รพ.สต.โพนสวรรค์
5.
23   สิงหาคม   55
รพ.สต.นาพู่
6.
28   สิงหาคม   55
รพ.สต.เชียงหวาง
7.
30   สิงหาคม   55
รพ.สต.คอนเลียบ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome




โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้
โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
สาเหตุ
โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน
อาการ
อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
  • ปวดศีรษะ
  • ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว
การวินิจฉัย
โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ
  • ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ1แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้
  • ดื่มน้ำให้พอ
  • งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด
โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
  • ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ
  • มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
  • อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  • อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเส
  • สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย
การป้องกัน
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
  • ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
ควรพบแพทย์เมื่อไร
  • ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
  • ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  • เด็กระสับกระส่าย
  • มีอาการชัก
  • แผลไม่หาย

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)

สาเหตุของโรค
      เกิดจากไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อตรั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อค หรือเสียชีวิต โรคนี้พบมาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
 
การติดต่อ
    โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงหลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น โดยทั่วไปโรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากเด็กมักอยู่ในบ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ และยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี
 
 
อาการ
         ในการติดเชื้อไวรัสแดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80-90%) จะไม่แสดงอาการ ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออก ซึ้งมีอาการสำคัญแบ่งแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ
        1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชัก เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน
        2. ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง
        3.ระยะพักฟื้น อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
 
 
การวินิจฉัย
       เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูง มีเลือดออกง่าย (ทดสอบโดยการรัดแขนแล้วพบจุดเลือดออกตามร่างกาย เช่น เลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน) เจ็บชายโครงขวาเนื่องจากตับโต ช็อค ตรวจเลือดพบเกล็ดเลือดต่ำ เลือดข้นขึ้น และอาจตรวจน้ำเหลืองหรือเพาะเชื้อไวรัสจากเลือด เพื่อยืนยันการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม ในระยะ 1-2 วันของไข้ อาจมีอาการไม่ชัดเจน ผลเลือดอาจจะยังปกติ จึงต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและเจาะเลือดซ้ำถ้าอาการไม่ดีขึ้น
 
การรักษา
        เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซทตามอลในช่วงที่มีไข้สูง ห้ามให้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ยาแก้คลื่นใส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันภาวะช็อคได้ ระยะที่เกิดช็อคส่วนใหญ่จะเกิดพร้อมๆกับช่วงที่ไข้ลดลง ผู้ปกครองควรทราบอาการก่อนที่จะช็อค คือ อาจมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆกับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเป็นดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
 
การป้องกัน
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆบ้าน
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุง 7 วัน เช่น แจกัน
  • กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
  • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำ (Temephos)ในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้
  • ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าว

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรคไข้ฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis )


          ข่าวจากกรมควบคุมโรค เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555 แจ้งเตือน “หนูออฟฟิศ” เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนูเช่นกัน การติดต่อไม่แค่เดินย่ำน้ำ อาหาร-น้ำดื่ม-การหายใจก็มีโอกาส  ติดเชื้อได้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “โรคไข้ฉี่หนู” หรือ “เลปโตสไปโรซิส” พบได้เฉพาะในท้องทุ่งนาหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง “หนู” ที่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน สำนักงานต่างๆ ก็เป็นพาหะของโรคเช่นเดียวกัน 

          สถานการณ์การระบาดของโรคไข้ฉี่หนู  ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 ธันวาคม 2554 พบผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 3,699 คน เสียชีวิต 66 คน คิดเป็นอัตราป่วยเฉลี่ย 5 คนต่อประชากรแสนคน ถือว่ายังต้องพัฒนาแผนการเฝ้าระวังให้มากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกัน เรามาทำความรู้จักโรคไข้ฉี่หนูกันดีกว่าค่ะ

att3062554172748 

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)
          เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่ระบาดในคน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เลปโตสไปร่า (Leptospira) มักจะพบการระบาดในฤดูฝนเชื้อจะปะปนอยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง

การติดต่อของโรค
         สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข หมู วัว ควาย สัตว์เหล่านี้อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีการติดเชื้อที่ท่อไต และปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะได้นานเป็นปีเลยทีเดียว เมื่อคนสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา บางรายงานระบุว่าผิวหนังปกติเชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ คนเรารับเชื้อได้ 2 วิธี ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่นำเชื้อ ระหว่างสัตว์ต่อสัตว์ หรือคนต่อคนโดยเพศสัมพันธ์ ทางอ้อม โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่ตา ปาก จมูก
 
2-29-2012 2-24-12 PM


อาการของโรคที่สำคัญ
อาการทางคลินิกของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม

  1. กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรค ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1 - หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

    1.1) ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
    - ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวดบริเวณหน้าผากหรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
    - ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้อ
    - ไข้สูง 38-40 C เยื่อบุตาแดง
    อาการต่างๆ อาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง
    การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีขี้ตาหรือน้ำตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว

    1.2) ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็ง มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และมีเชื้อออกมาในปัสสาวะ
  2. กลุ่มที่มีอาการเหลือง หรืออาการรุนแรง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หาย แต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับและไตวาย ดีซ่าน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอ
    เป็นเลือด อาการเหลืองจะเกิดวันที่ 4 ของโรค ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่ 3 จากไตวาย
    อาการแสดงที่สำคัญ
              1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
              2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
              3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น จุดเลือดออกตามผิวหนัง (petechiae) ผื่นเลือดออก (purpuric spot) เลือดออกใต้เยื่อบุตา (conjunctival haemorrhage) หรือเสมหะเป็นเลือด
              4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
              5. อาการเหลือง มักเกิดวันที่ 4-6 ของโรค

638424

 การรักษา
           
ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และรับการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่เสียชีวิต เกิดจากการมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไอเป็นเลือด ที่รุนแรง การหายใจล้มเหลว หรือไตวาย เป็นต้นการป้องกันโรค

การป้องกันโรค
          1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะจากหนู สุนัข วัว ควาย หมู
          2. ไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรค หรือเห็นว่ามีหนูอยู่ชุกชุม
          3. สวมเครื่องป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ขณะต้องทำงานสัมผัสน้ำ ลุยโคลน
          4. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด

การควบคุมและกำจัดแหล่งรังโรค          1. กำจัดหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
          2. ปรับปรุงสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
          3. ปิดฝาถังขยะ และหมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหาร ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
          4. พื้นคอกของสัตว์เลี้ยง ควรเป็นพื้นซีเมนต์ ผิวเรียบ ดูแลให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้มีน้ำหรือปัสสาวะสัตว์ขังอยู่ ในช่วงการระบาดของโรคควรล้างและราดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเสมอๆ
          5. เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วย ต้องแจ้งให้สัตวแพทย์รักษาโดยเร็ว

ที่มา http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/popup_cms_tech_detail.php?cid=95&mid=Tips&subject=%E2%C3%A4%E4%A2%E9%A9%D5%E8%CB%B9%D9%20%CB%C3%D7%CD%E0%C5%BB%E2%B5%CA%E4%BB%E2%C3%AB%D4%CA%20(Leptospirosis)

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

สรุป7วันอันตรายตายเพิ่ม ปิดยอดเป็น 320 ราย

วันพุธที่ 18 เมษายน 2555 เวลา 10:38 น.
ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย วันนี้ (18 เม.ย.) เวลา 11.00 น.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้เดินทางมาเป็นประธานปิดศูนย์แถลงตัวเลขสถิติอุบัติเหตุของวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของช่วง 7 วันอันตราย ว่า ได้มีอุบัติเหตุเกิดทั้งหมด 257 ครั้ง โดยจังหวัดนครสวรรค์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 12 ครั้ง  มีผู้เสียชีวิต 38 ราย ซึ่งมีผู้เสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาและหนองบัวลำภู จังหวัดละ 4 ราย  บาดเจ็บ 261 ราย สูงสุดอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ 15 ราย

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ระหว่าง วันที่ 11-17 เม.ย.55 เกิดอุบัติเหตุสะสมทั้งหมด 3,129 ครั้ง จังหวัดเชียงรายเกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด 125 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตสะสม 320 ราย สูงสุดอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 13 ราย  บาดเจ็บสะสม 3,320 ราย ผู้เสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่จังหวัดเชียงราย 124 ราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ยังคงเป็นเมาสุรา ร้อยละ 39.21 (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 0.45) รองลงมาคือ ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 21.57 ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนี้เป็นเหมือนกันทุกปี เช่นเดียวกับยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ยังคงเป็นรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.14  รองลงมาคือ รถกระบะ ร้อยละ 9.72 ถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ถนน อบต.และถนนในหมู่บ้าน ร้อยละ 36.05  รองลงมาคือ ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 34.93 สำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี มีที่บาดเจ็บและเสียชีวิต ร้อยละ 27.66 (ลดลงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 0.42)

ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีทั้งหมด 6 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคอีสาน 1 จังหวัด คือ นครพนม ภาคกลาง 1 จังหวัด คือ ตราด ภาคใต้ 4 จังหวัด คือ ตรัง , ปัตตานี , ระนอง , สตูล โดยจังหวัดนครพนมและตรัง จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดโซนสีเหลือง (ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 40 ราย) ปีนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินรางวัลจังหวัดละ 3 แสนบาท ส่วนจังหวัดระนอง , ปัตตานี , ตราด , สตูล จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดโซนสีขาว (ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 15 ราย) ปีนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินรางวัลจังหวัดละ 5 หมื่นบาทและเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว 2554 เกิดอุบัติเหตุสะสม 7 วัน 3,215 ครั้ง / เสียชีวิตสะสม 271 ราย / บาดเจ็บสะสม 3,476 ราย / เท่ากับว่าสงกรานต์ปีนี้ มีผู้เสียชีวิตสูงกว่าปีที่แล้ว 49 ราย
ที่ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลาง จ.ตรัง นายเสนีย์ จิตตเกษม ผวจ.ตรัง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2555 เป็นประธานในการแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. พบว่า จ.ตรังเกิดอุบัติเหตุ 72 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 85 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต  โดยถือเป็นปีแรกของจ.ตรัง ที่ไม่มีผู้เสียชีวิต

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รมช.สธ.เตือนอันตรายกินเมล็ดสบู่ดำ...อาจถึงตาย


   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายจากสบู่ดำมีสารพิษที่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับพิษจากการกินเมล็ดสบู่ดำ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ อายุระหว่าง 3-15 ปีที่กินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าสารสกัดจากเมล็ดสบู่ดำมีสรรพคุณทางยา แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงสูง

นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าปัจจุบันมีการปลูกต้นสบู่ดำกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในบ้าน โรงเรียนและพื้นที่แปลงเกษตร เพื่อนำเมล็ดมาสกัดเป็นไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซล แต่ไม่ได้เตือนถึงอันตรายของสบู่ดำ ทำให้ในแต่ละปีมีรายงานผู้ที่ได้รับพิษจากการกินเมล็ดสบู่ดำจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ อายุระหว่าง 3-15 ปีที่กินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งทุกส่วนของสบู่ดำ ทั้งใบ ยาง ผล และเมล็ดมีความเป็นพิษ โดยเฉพาะเมล็ดสบู่ดำเป็นส่วนที่มีพิษเคอซิน (curcin) มาก   หากกินเมล็ดเข้าไปประมาณ 1 ชั่วโมง จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีอาการมือและเท้าเกร็ง หายใจหอบ ความดันเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากเป็นสายพันธุ์ที่มีสารพิษสูง กินเพียง 3 เมล็ดก็เกิดอันตรายได้ สำหรับวิธี ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากพบผู้ป่วยกินเมล็ดสบู่ดำ ให้ดื่มนมจำนวนมากๆ ทำให้อาเจียน หรือใช้ผงถ่านกัมมันต์ เพื่อดูดซับสารพิษและรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ส่วนยางสบู่ดำมีสารพิษโฟบอลเอสเทอร์ (Phorbal estor) หากน้ำยางของสบู่ดำถูกผิวหนังจะเกิดการแพ้ ระคายเคือง ปวดแสบอย่างรุนแรง ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่ทันที

 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า ต้นสบู่ดำ ภาคเหนือเรียกว่า ละหุ่งฮั้ว ภาคอีสานเรียก มะเยา สีหลอด ภาคใต้เรียก หงเทศ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 3-5 เมตร มียางเหนียวสีเหลือง ผลมีรูปรี ผิวเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่จะมีสีเหลืองแล้วเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด โดยสบู่ดำมีสรรพคุณใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนไทย แต่ต้องใช้โดยผู้ที่มีความรู้ การศึกษาวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าสารสกัดเอทานอลของเมล็ดสบู่ดำ เมื่อทำการทดสอบในหลอดทดลองมีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเริม นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาวิจัยทางคลินิก พบว่า ยาแคปซูลของสารสกัดแยกส่วนจากสารสกัดเอทานอลของเมล็ดสบู่ดำ ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย คือ ท้องเดิน หรือเกิดอาการซีดและแม้ว่าได้ทำการแยกส่วนสกัดย่อยลงไปอีกก็ยังพบว่ายามีผลต่อการกดภูมิต้านทานแบบผันกลับได้ในผู้ป่วยเอดส์ ดังนั้นแม้ว่าการวิจัยทางคลินิกจะยุติลงเนื่องจากพบอาการข้างเคียง แต่หากมีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง โดยศึกษาการแยกสกัดสารที่ก่อให้เกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากสารออกฤทธิ์ในเมล็ดสบู่ดำได้ รวมทั้งพัฒนาอนุพันธุ์ของสารออกฤทธิ์หรือศึกษาวิจัยในเรื่องฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ฉวยโอกาส กระตุ้นภูมิต้านทาน ฯลฯ    สบู่ดำก็จะเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาสำหรับมนุษย์ต่อไป                                                             

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

     21 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=45003

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แจ้งการรับวัคซีนประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2555

การรับวัคซีนประจำเดือน  กุมภาพันธ์ 2555
แจ้งรับได้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
จึงขอเรียนเชิญนำเด็กอายุ 0-5 ปีเข้ารับวัคซีน
ในเวลา 09.00-12.00 น. 
ณ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนะนำ รพ.สต.

แนะนำ รพ.สต.

ระเบียบ ข้อบังคับ

ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน