กรมควบคุมโรคแนะประชาชนดูแลสุ ขภาพตนเอง
เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก
คร. แนะประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค แนะประชาชนดูแลสุขภาพตนเองและการมีสุขนิสัยที่ดี เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงเช้าอากาศหนาวเย็น และช่วงบ่ายอากาศร้อน อาจทำให้ประชาชนมีอาการไข้หวัดได้ นอกจากนี้ มีรายงานการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ย้ำเตือนประชาชนดูแลสุขภาพตนเองหมั่นล้างมือให้สะอาด ไอจามปิดปากปิดจมูก มีอาการหวัดสวมหน้ากากป้องกันโรค หากมีอาการไข้ ไอ หายใจหอบ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกหรืออยู่ในพื้นที่สัตว์ปีกป่วยตายหรือป่วยหลังเดินทางกลับจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วย ให้สวมหน้ากากป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคหยุดเรียนหรือหยุดงาน และรีบพบแพทย์
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันช่วงปลายฤดูหนาวต้นฤดูร้อน ทำให้ช่วงเช้าอากาศหนาวเย็น และช่วงบ่ายอากาศร้อน ในบางวันมีฝนตก อาจทำให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เจ็บป่วยด้วยอาการไข้หวัด และจากที่มีข่าวทางสื่อมวลชน รายงานโรคไข้หวัดนกชนิด เอ เอช 7 เอ็น 9 ในต่างประเทศ โดยล่าสุดมีรายงานผู้ป่วยรายแรกของประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ร่วมกับมีสื่อมวลชนไทย รายงานโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และผู้เสียชีวิตนั้น อาจทำให้ประชาชนวิตกกังวลและตื่นตระหนกได้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้มีการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช7 เอ็น9 (H7N9) ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยในประเทศไทย และสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีรายงานพบในต่างประเทศ เช่น เอช10 เอ็น 8 (H10N8) และ เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ซึ่งไข้หวัดนกสายพันธุ์เหล่านี้ ห้องปฏิบัติการของประเทศไทยสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ ส่วนข่าวโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในจังหวัดเชียงใหม่ แท้จริงแล้วเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือ โรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (H1N1) ไม่ได้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือโรคไข้หวัดนกแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เข้มมาตรการเฝ้าระวังโรคร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด ทั้งในคนและสัตว์ปีกอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการสอบสวนโรค ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 - 9 กุมภาพันธ์ 2557 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 4,685 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 7.38 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และยังไม่พบการระบาดรุนแรงในประเทศไทย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 7-9 ปี (ร้อยละ 11.53) รองลงมา คือ อายุ 10-14 ปี (ร้อยละ 11.42) และ อายุ 25-34 ปี (ร้อยละ 10.91) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ พะเยา (45.78 ต่อแสนประชากร), ลำปาง (38.20 ต่อแสนประชากร), อุตรดิตถ์ (36.50 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่ (28.73 ต่อแสนประชากร) และระยอง (20.91 ต่อแสนประชากร)
เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจามรดกัน หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น อาการเจ็บป่วยมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้มากกว่าผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ การรักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลด
ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มากๆ และสวมหน้ากากป้องกันโรคอยู่เสมอ เพื่อป้องกัน
การแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ และผู้มีโรคอ้วน หากมีอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่ ให้รีบมาพบแพทย์
ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ในกรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่า 1 คน ในสถานที่ที่คนอยู่จำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานศึกษา โรงงาน สำนักงานต่างๆ แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดเรียนหรือหยุดทำงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสมากๆ เช่น ลูกบิดประตู ราดบันใด โต๊ะอาหาร ด้วยน้ำผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป (สามารถทำลายเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ ได้) อย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติมว่า " การป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในประชาชนทั่วไป ได้แก่
1) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ในกรณีที่มือไม่เปรอะเปื้อนมาก
2) ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น
3) ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
4) กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5) ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น และ
6) ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
สำหรับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วย ควรปฏิบัติดังนี้
1) ต้องสวมหน้ากากป้องกันโรคอยู่เสมอ เมื่อให้การดูแลผู้ป่วย
2) หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สัมผัสตัวหรือข้าวของเครื่องใช้ผู้ป่วย
3) ดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง หลังจากดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดหากมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ภายใน 7 วัน ให้มาพบแพทย์และแจ้งประวัติการสัมผัสผู้ป่วยให้แพทย์ทราบ ประชาชนที่มีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค 0-2590-3159 หรือ เว็บไซต์http://beid.ddc.moph.go.th หรือ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422" นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติม
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันช่วงปลายฤดูหนาวต้นฤดูร้อน ทำให้ช่วงเช้าอากาศหนาวเย็น และช่วงบ่ายอากาศร้อน ในบางวันมีฝนตก อาจทำให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เจ็บป่วยด้วยอาการไข้หวัด และจากที่มีข่าวทางสื่อมวลชน รายงานโรคไข้หวัดนกชนิด เอ เอช 7 เอ็น 9 ในต่างประเทศ โดยล่าสุดมีรายงานผู้ป่วยรายแรกของประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ร่วมกับมีสื่อมวลชนไทย รายงานโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และผู้เสียชีวิตนั้น อาจทำให้ประชาชนวิตกกังวลและตื่นตระหนกได้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้มีการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช7 เอ็น9 (H7N9) ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยในประเทศไทย และสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีรายงานพบในต่างประเทศ เช่น เอช10 เอ็น 8 (H10N8) และ เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ซึ่งไข้หวัดนกสายพันธุ์เหล่านี้ ห้องปฏิบัติการของประเทศไทยสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ ส่วนข่าวโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในจังหวัดเชียงใหม่ แท้จริงแล้วเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือ โรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (H1N1) ไม่ได้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือโรคไข้หวัดนกแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เข้มมาตรการเฝ้าระวังโรคร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด ทั้งในคนและสัตว์ปีกอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการสอบสวนโรค ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 - 9 กุมภาพันธ์ 2557 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 4,685 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 7.38 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และยังไม่พบการระบาดรุนแรงในประเทศไทย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 7-9 ปี (ร้อยละ 11.53) รองลงมา คือ อายุ 10-14 ปี (ร้อยละ 11.42) และ อายุ 25-34 ปี (ร้อยละ 10.91) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ พะเยา (45.78 ต่อแสนประชากร), ลำปาง (38.20 ต่อแสนประชากร), อุตรดิตถ์ (36.50 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่ (28.73 ต่อแสนประชากร) และระยอง (20.91 ต่อแสนประชากร)
เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจามรดกัน หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น อาการเจ็บป่วยมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้มากกว่าผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ การรักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลด
ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มากๆ และสวมหน้ากากป้องกันโรคอยู่เสมอ เพื่อป้องกัน
การแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ และผู้มีโรคอ้วน หากมีอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่ ให้รีบมาพบแพทย์
ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ในกรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่า 1 คน ในสถานที่ที่คนอยู่จำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานศึกษา โรงงาน สำนักงานต่างๆ แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดเรียนหรือหยุดทำงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสมากๆ เช่น ลูกบิดประตู ราดบันใด โต๊ะอาหาร ด้วยน้ำผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป (สามารถทำลายเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ ได้) อย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติมว่า " การป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในประชาชนทั่วไป ได้แก่
1) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ในกรณีที่มือไม่เปรอะเปื้อนมาก
2) ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น
3) ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
4) กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5) ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น และ
6) ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
สำหรับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วย ควรปฏิบัติดังนี้
1) ต้องสวมหน้ากากป้องกันโรคอยู่เสมอ เมื่อให้การดูแลผู้ป่วย
2) หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สัมผัสตัวหรือข้าวของเครื่องใช้ผู้ป่วย
3) ดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง หลังจากดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดหากมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ภายใน 7 วัน ให้มาพบแพทย์และแจ้งประวัติการสัมผัสผู้ป่วยให้แพทย์ทราบ ประชาชนที่มีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค 0-2590-3159 หรือ เว็บไซต์http://beid.ddc.moph.go.th หรือ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422" นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติม
ที่มา สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค
โทรศัพท์: 0-2590-3855 โทรสาร: 0-2590-3386
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น