กำหนดแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานีออกตรวจโรคทั่วไป เดือน กรกฎาคม 2557
ที่สถานีอนามัยนาพู่
วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
รพ.เพ็ญ ออกหน่วยทันตกรรมประจำเดือนมิถุนายน 57
รพ.เพ็ญ ออกหน่วยทันตกรรมที่สถานีอนามัยนาพู่ วันที่ 16 และ 23 มิ.ย. 57 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป
วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
โซเดียมกับโรคไต
อาหารรสชาติเค็ม คนชอบรับประทาน ทั้งที่รู้ว่าความเค็มนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะอาหารไทยบ้านเรามีส่วนผสมของเกลือใน ปริมาณที่สูง เช่น อาหารแห้ง อาหารหมักดอง และขนมขบเคี้ยว ถ้าบริโภคมากเกินไป นอกจากจะทำให้เป็นโรคไตแล้วยังก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และมีผลร้ายตามมาคือ เป็นโรคหัวใจ และถึงขั้นหัวใจวายตายได้อีกด้วย
ไต มีหน้าที่ควบคุมโซเดียมในร่างกาย ถ้าโซเดียมในร่างกายน้อย ไตก็จะดูดโซเดียมกลับมาจากปัสสาวะ ถ้าโซเดียมมีมากไตก็จะขับโซเดียมทิ้งออกไปทางน้ำปัสสาวะ ถ้าไตขับโซเดียมออกไม่หมด โซเดียมก็จะคั่งในร่างกาย ไตจะดึงน้ำไว้ในร่างกายทำให้ปริมาณของเหลวไหลเวียนในร่างกายมากส่งผลทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายปรับตัวหนา และแข็งขึ้น ทำให้อวัยวะสำคัญที่หลอดเลือดไปเลี้ยง เช่น หัวใจ สมอง ไต เสียการทำงาน โรคความดันเลือดสูง จึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ” เกิดภาวะความดันเลือดสูงมากที่สุด นอกจากโรคหัวใจและสมอง หากความดันเลือดสูงเมื่อใด โรคไตเรื้องรังก็จะตามมา ด้วยเหตุนี้โซเดียมจึงกลายเป็นตัวอันตรายในอาหารหากบริโภคอย่างไม่ระมัดระวัง
ไต มีหน้าที่ควบคุมโซเดียมในร่างกาย ถ้าโซเดียมในร่างกายน้อย ไตก็จะดูดโซเดียมกลับมาจากปัสสาวะ ถ้าโซเดียมมีมากไตก็จะขับโซเดียมทิ้งออกไปทางน้ำปัสสาวะ ถ้าไตขับโซเดียมออกไม่หมด โซเดียมก็จะคั่งในร่างกาย ไตจะดึงน้ำไว้ในร่างกายทำให้ปริมาณของเหลวไหลเวียนในร่างกายมากส่งผลทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายปรับตัวหนา และแข็งขึ้น ทำให้อวัยวะสำคัญที่หลอดเลือดไปเลี้ยง เช่น หัวใจ สมอง ไต เสียการทำงาน โรคความดันเลือดสูง จึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ” เกิดภาวะความดันเลือดสูงมากที่สุด นอกจากโรคหัวใจและสมอง หากความดันเลือดสูงเมื่อใด โรคไตเรื้องรังก็จะตามมา ด้วยเหตุนี้โซเดียมจึงกลายเป็นตัวอันตรายในอาหารหากบริโภคอย่างไม่ระมัดระวัง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)